Tel: 099-3694654, 063-2498795
ตั้งค่าเริ่มต้นกำหนดการใช้งาน 1 สินค้ามี 2 หน่วยนับ
สำหรับสินค้าที่เวลาคิดราคาสินค้าและเวลานับสต๊อกใช้คนละหน่วยนับ สามารถบริหารจัดการในโปรแกรมสต๊อกสินค้า dmart ได้โดยเริ่มต้นให้ไปกำหนดที่ จัดการระบบ->ข้อมูลกิจการดังรูป
ไปที่แถบรายละเอียด กดปุ่มแก้ไขแล้วไปที่ช่องข้อมูลหน่วยนับสินค้า เปลี่ยนเป็น 1 สินค้ามี 2 หน่วยนับ แล้วกดบันทึกดังรูป
การกำหนดค่าหน่วยนับ มี 3 รูปแบบโดยให้กำหนดในช่องจำนวนเทียบ
1.สินค้าที่มีหน่วยนับเดียว ให้ใส่ค่าจำนวนเทียบเป็น 1 ดูวิธีเพิ่มข้อมูลสินค้าหน่วยนับเดียว
2.สินค้าที่มี 2 หน่วยนับ แต่ไม่สามารถกำหนดปริมาณต่อ 1 หน่วยที่ใช้นับสต๊อกได้ เช่นไก่ มี 2 หน่วยนับคือ
– กิโลกรัม -> ใช้ในการคิดราคา
– ตัว -> ใช้ในการนับสต๊อก
เราจะไม่สามารถรู้ได้ว่า 1 ตัว จะมีกี่กิโลกรัมเพราะแต่ละตัวน้ำหนักไม่เท่ากัน เวลาคิดราคาใช้หน่วยกิโลกรัมแต่ขายเป็นตัว ให้ใส่ค่าจำนวนเทียบเป็น 0 ดูวิธีแบบที่ 2
3.สินค้าที่มี 2 หน่วยนับ และสามารถกำหนดปริมาณต่อ 1 หน่วยที่ใช้นับสต๊อกได้ เช่นข้าวสาร มี 2 หน่วยนับคือ
– กิโลกรัม -> ใช้ในการคิดราคา
– กระสอบ -> ใช้ในการนับสต๊อก
สามารถรู้ได้ว่า 1 กระสอบมีกี่กิโลกรัมเพราะกำหนดน้ำหนักได้ตายตัวแน่นอนเช่น 1 กระสอบมี 2 กิโลกรัม ให้ใส่ค่าจำนวนเทียบเป็น 2
(ใส่ว่า 1 หน่วยที่นับสต๊อกมีกี่หน่วยที่คิดราคา ในตัวอย่าง 1 กระสอบ->หน่วยที่นับสต๊อก มี 2 กิโลกรัม->หน่วยที่คิดราคา จึงใส่จำนวนเทียบ = 2) ดูวิธีแบบที่ 3
2. สินค้ามี 2 หน่วยนับ แต่ไม่สามารถกำหนดปริมาณต่อ 1 หน่วยที่ใช้นับสต๊อกได้
ในตัวอย่างนี้จะเลือกหมวดไก่ (ไก่ 1 ตัวไม่สามารถกำหนดจำนวนกิโลกรัมที่แน่นอนได้)
กิโลกรัม-> หน่วยที่ใช้คิดราคา
ตัว->หน่วยที่ใช้นับสต๊อก
ขั้นตอนแรกให้เพิ่มข้อมูลสินค้าโดยเข้าไปที่ สินค้า->กลุ่มสินค้าและสินค้า ในที่นี้เลือกกลุ่มสินค้าไก่ แล้วเข้าไปในรายการสินค้าโดยกดปุ่มสินค้า ดังรูป
เมื่อเข้ามาในกลุ่มสินค้าแล้วให้เลือกสินค้าที่ต้องการ แล้วกดแก้ไข หากเป็นสินค้าใหม่ที่ยังไม่มีอยู่ให้กดปุ่มเพิ่ม อ่านวิธีเพิ่มข้อมูลสินค้าในตัวอย่างนี้จะทำการแก้ไขข้อมูลสินค้าที่มีอยู่แล้วคือไก่ล้วง ดังรูป
ให้เพิ่มข้อมูลสินค้าต่างๆให้ครบถ้วน ข้อสังเกตุการตั้งค่าหน่วยนับคือ
-หน่วยนับ ->ช่องนี้ให้ใส่หน่วยนับสำหรับคิดราคาในตัวอย่างคือ กิโลกรัม
-จำนวนเทียบ -> ให้ใส่ 0 สำหรับสินค้าที่ไม่สามารถระบุจำนวนหน่วยนับที่คิดราคาต่อ 1หน่วยนับสต๊อกได้
-หน่วยนับ 2 -> ช่องนี้ให้ใส่หน่วยนับสำหรับนับสต๊อกในตัวอย่างคือ ตัว
-ราคาขาย,ราคาทุน -> ราคาต่อ 1 กิโลกรัม
เมื่อเพิ่มข้อมูลสินค้าเรียบร้อยแล้วสามารถใช้ข้อมูลสินค้านี้ในการทำเอกสารซื้อ-ขาย-นับสต๊อกได้เลยโดยจะต้องกำหนดจำนวนหน่วยที่คิดเงินและหน่วยที่นับสต๊อกเพื่อใช้ในการคำนวณราคาและคำนวณปริมาณสต๊อกสินค้าด้วย
ตัวอย่างการซื้อสินค้าโดยสินค้ามี 2 หน่วยนับ โดยสินค้านั้นไม่สามารถกำหนดจำนวนหน่วยที่คิดเงินต่อจำนวนหน่วยที่นับสต๊อกได้ เช่นไก่
ตัวอย่างการขายสินค้าโดยสินค้ามี 2 หน่วยนับ โดยสินค้านั้นไม่สามารถกำหนดจำนวนหน่วยที่คิดเงินต่อจำนวนหน่วยที่นับสต๊อกได้ เช่นไก่
ตัวอย่างการนับสต๊อกโดยสินค้ามี 2 หน่วยนับ โดยสินค้านั้นไม่สามารถกำหนดจำนวนหน่วยที่คิดเงินต่อจำนวนหน่วยที่นับสต๊อกได้ เช่นไก่
ให้บันทึกจำนวนทั้งหน่วย 1 และหน่วย 2 ที่ช่องนับได้ดังตัวอย่าง
อ่านวิธีนับสต๊อกเพิ่มเติม
3.สินค้าที่มี 2 หน่วยนับ และสามารถกำหนดปริมาณจำนวนหน่วยที่ใช้คำนวณเงินต่อ 1 หน่วยที่ใช้นับสต๊อกได้
ในตัวอย่างนี้จะเลือกหมวดข้าวสาร (ข้าวสาร 1 กระสอบสามารถกำหนดจำนวนกิโลกรัมที่แน่นอนได้ ในตัวอย่าง 1กระสอบ = 2 กิโลกรัม)
กิโลกรัม-> หน่วยที่ใช้คิดราคา
กระสอบ->หน่วยที่ใช้นับสต๊อก
ขั้นตอนแรกให้เพิ่มข้อมูลสินค้าโดยเข้าไปที่ สินค้า->กลุ่มสินค้าและสินค้า ในที่นี้เลือกกลุ่มสินค้าข้าวสาร แล้วเข้าไปในรายการสินค้าโดยกดปุ่มสินค้า ดังรูป
เมื่อเข้ามาในกลุ่มสินค้าแล้วให้เลือกสินค้าที่ต้องการ แล้วกดแก้ไข หากเป็นสินค้าใหม่ที่ยังไม่มีอยู่ให้กดปุ่มเพิ่ม อ่านวิธีเพิ่มข้อมูลสินค้าในตัวอย่างนี้จะทำการแก้ไขข้อมูลสินค้าที่มีอยู่แล้วคือข้าวลำไย 2 ก.ก ดังรูป
ให้เพิ่มข้อมูลสินค้าต่างๆให้ครบถ้วน ข้อสังเกตุการตั้งค่าหน่วยนับคือ
-หน่วยนับ ->ช่องนี้ให้ใส่หน่วยนับสำหรับคิดราคาในตัวอย่างคือ กิโลกรัม
-จำนวนเทียบ ->สำหรับสินค้าที่สามารถระบุจำนวนหน่วยนับที่คิดราคาต่อ 1หน่วยนับสต๊อกได้ ในที่นี้ข้าวลำไย 1 กระสอบมี 2 กิโลกรัม ให้ใส่จำนวนเทียบ 2
-หน่วยนับ 2 -> ช่องนี้ให้ใส่หน่วยนับสำหรับนับสต๊อกในตัวอย่างคือ กระสอบ
-ราคาขาย,ราคาทุน -> ราคาต่อ 1 กิโลกรัม
เมื่อเพิ่มข้อมูลสินค้าเรียบร้อยแล้วสามารถใช้ข้อมูลสินค้านี้ในการทำเอกสารซื้อ-ขาย-นับสต๊อกได้เลยโดยกำหนดเฉพาะจำนวนหน่วยที่นับสต๊อกระบบก็สามารถคำนวณราคาและคำนวณปริมาณสต๊อกสินค้าตามจำนวนเทียบที่กำหนดค่าเอาไว้ได้
ตัวอย่างการซื้อสินค้าโดยสินค้ามี 2 หน่วยนับ โดยสินค้านั้นสามารถกำหนดจำนวนหน่วยที่คิดเงินต่อจำนวนหน่วยที่นับสต๊อกได้ เช่นข้าว 1 กระสอบมี 2 กิโลกรัม
ตัวอย่างการขายสินค้าโดยสินค้ามี 2 หน่วยนับ ซึ่งสินค้านั้นสามารถกำหนดจำนวนหน่วยนับที่คิดเงินต่อจำนวนหน่วยที่นับสต๊อกได้ เช่นข้าวลำไย 1 กระสอบมี 2 กิโลกรัม เวลาขายให้ระบุเฉพาะจำนวนหน่วยที่ใช้ในการนับสต๊อกในตัวอย่างคือกระสอบ ส่วนจำนวนกิโลกรัมไม่ต้องระบุ
ตัวอย่างการนับสต๊อกโดยสินค้ามี 2 หน่วยนับ โดยสินค้านั้นสามารถกำหนดจำนวนหน่วยที่คิดเงินต่อจำนวนหน่วยที่นับสต๊อกได้ เช่นข้าวสาร
ให้บันทึกจำนวนหน่วย 2-> หน่วยที่ใช้ในการนับสต๊อกในที่นี้คือกระสอบ
ที่ช่องนับได้ดังตัวอย่าง