Tel: 099-3694654, 063-2498795

Qsofttech-จำหน่ายโปรแกรมธุรกิจ > โปรแกรมขายหน้าร้าน dmart > เพิ่มสินค้าและวัตถุดิบในการผลิต

ข้อมูลเริ่มต้นที่ท่านต้องเตรียมอันดับแรกคือข้อมูลสินค้าที่สั่งผลิตและวัตถุดิบในการผลิตสินค้าสั่งผลิตแต่ละตัวนั้นซึ่งท่านควรแบ่งหมวดหมู่ของสินค้าแยกกันระหว่าง
– สินค้าที่สั่งผลิต
– วัตถุดิบ/ส่วนประกอบการผลิต 

(การแบ่งหมวดหมู่สินค้าผลิตช่วยให้ท่านสามารถตรวจสอบจำนวนสินค้าที่ผลิตตามหมวดหมู่ และค้นหาสินค้าสั่งผลิตหรือวัตถุดิบและดูรายงานการขายแยกตามหมวดหมู่สินค้าได้ง่าย)

การแบ่งหมวดหมู่สินค้าสั่งผลิตและวัตถุดิบ/ส่วนประกอบ
ไปที่เมนู สินค้า -> กลุ่มสินค้าและสินค้า ดังรูป

กดปุ่มเพิ่มและใส่รหัสกลุ่มสินค้า,ชื่อกลุ่มสินค้าและกดปุ่มบันทึกดังรูป ในที่นี้จะเพิ่มข้อมูล 2 กลุ่มสินค้า
สินค้าสั่งผลิต ->ข้าวสารสั่งผลิตแบบผสม
ส่วนประกอบ/วัตถุดิบ ->ข้าวสารแบบกิโล

กดเพิ่มกลุ่มสินค้าวัตถุดิบ

รหัสกลุ่ม -> กำหนดตัวอักษรภาษาอังกฤษหรือตัวเลขไม่เกิน 15 ตัว
ชื่อกลุ่มสินค้า -> ตั้งชื่อกลุ่มสินค้าไม่เกิน 50 ตัวอักษร

ให้ท่านเพิ่มข้อมูลในกลุ่มส่วนประกอบ/วัตถุดิบก่อนที่จะเพิ่มข้อมูลสินค้าสั่งผลิต (เนื่องจากต้องใช้ระบุเป็นส่วนประกอบในสินค้าสั่งผลิต) ให้คลิ๊กที่กลุ่มส่วนประกอบ/วัตถุดิบของท่านและคลิ๊กที่สินค้าเพื่อเข้าไปเพิ่มข้อมูลสินค้า ในตัวอย่าง


สินค้าที่เป็นส่วนประกอบ/วัตถุดิบ
– ข้าวกล้องชนิด A
– ข้าวกล้องชนิด B
– ข้าวกล้องชนิด C

เข้ากลุ่มสินค้าส่วนประกอบ
เพิ่มรายการสินค้า3รายการ

เมื่อบันทึกข้อมูลวัตถุดิบที่จะใช้ผลิตจนครบแล้วให้กดปุ่มบันทึก หลังจากนั้นให้ออกมาจากฟอร์มกลุ่มส่วนประกอบ/วัตถุดิบ และให้เพิ่มรายการสินค้าในกลุ่มสินค้าสั่งผลิตต่อไป โดยคลิ๊กที่กลุ่มสินค้าสั่งผลิตแล้วคลิ๊กที่ปุ่มสินค้าดังรูป

เพิ่มกลุ่มสินค้าสั่งผลิต

เพิ่มข้อมูลสินค้าในกลุ่มสินค้าที่สั่งผลิตในตัวอย่างคือ
– ข้าวกล้องรวม 3 ชนิด

สร้างข้อมูลสินค้าสั่งผลิต

ผลิตเอง? ถ้าสินค้าเป็นสินค้าผลิตเองให้ทำเครื่องหมายถูก

จน.ผลิตขั้นต่ำ/LOT จำนวนขั้นต่ำที่จะผลิตสินค้านี้ต่อครั้งถ้าต่ำกว่าจำนวนนี้ระบบจะไม่ยอมให้บันทึกใบสั่งผลิต

รหัสสินค้า ถ้าสินค้ามีบาร์โค้ดให้สแกนบาร์โค้ดเข้าไปในช่องนี้ ถ้าสินค้าไม่มีบาร์โค้ดสามารถปล่อยเป็น <<>> แล้วให้ระบบรันรหัสสินค้าให้ได้หรือตั้งรหัสเองได้ซึ่งต้องไม่ซ้ำกับรหัสสินค้าที่มีอยู่แล้วในระบบ
(รหัสสินค้าไม่เกิน 25 ตัวอักษร)

บาร์โค้ด ถ้าสินค้ามีบาร์โค้ดให้สแกนบาร์โค้ดเข้าไปในช่องนี้ ถ้าสินค้าไม่มีบาร์โค้ดสามารถปล่อยเป็น <<>> ได้ระบบจะรันรหัสสินค้ามาใส่ในช่องนี้
ซึ่งท่านสามารถกดปุ่มสร้างบาร์โค้ดอัตโนมัติให้สินค้าตัวนี้ในภายหลังจากที่บันทึกข้อมูลสินค้าแล้วได้
วิธีสร้างบาร์โค้ดให้กับสินค้าที่ไม่มีบาร์โค้ด

ใช้งาน ให้ทำเครื่องหมายถูก (สามารถเอาเครื่องหมายถูกออกภายหลังได้ถ้าสินค้านั้นไม่ได้ขายแล้วในอนาคต)

ภาษี vat ( Vat / No Vat / Extra ) ให้กำหนดว่าสินค้ามี vat หรือไม่  Extra คือ สินค้าที่ต้องยื่นแต่รับการยกเว้นภาษีเช่นสินค้าการเกษตร ข้าวสาร เนื้อสัตว์ เป็นต้น

นับสต๊อก ให้ทำเครื่องหมายถูกสำหรับสินค้าที่ให้แสดงจำนวนคงเหลือ ถ้าเป็นสินค้าประเภทการบริการเช่นบริการนวด/ค่าขนของ (เป็นสินค้าที่ไม่ต้องแสดงจำนวน) ไม่ต้องทำเครื่องหมายถูกที่ช่องนับสต็อก

ชื่อสินค้า ให้ใส่ชื่อสินค้าโดยใส่รายละเอียดสินค้าให้เด่นชัดมากที่สุดเพื่อให้คุณไม่สับสนถ้ามีสินค้าคล้ายกันหลายตัวในร้าน ชื่อสินค้านี้ควรเป็นชื่อทางการเพราะต้องนำไปแสดงตอนออกบิลขาย ชื่ออาจประกอบด้วย ยี่ห้อ+สี+รส+ขนาด รวมกันเป็นต้น (ไม่เกิน 50 ตัวอักษร)

หน่วยนับ เลือกหน่วยนับที่มีอยู่ในระบบ ถ้าไม่มีหน่วยนับที่ต้องการสามารถเพิ่มได้ที่เมนูหน่วยนับ

ราคาขาย ราคาสำหรับลูกค้าปลีกหน้าร้านทั่วไป หากท่านขายสินค้าหลายระดับราคาสามารถไปกำหนดได้ที่ฟังก์ชั่นระดับราคาเมื่อบันทึกข้อมูลสินค้าและลูกค้าเสร็จ ดูวิธีกำหนดระดับราคา

ราคาขายต่ำสุด (ราคาที่ลดราคาได้ต่ำที่สุด)

ราคาทุน ราคาทุนเริ่มต้น เป็นค่าเริ่มต้นเมื่อท่านทำเอกสารซื้อสินค้าซึ่งราคาทุนสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อทำเอกสารแต่ละครั้ง

***หมายเหตุ***  ข้อมูลอื่นๆท่านสามารถปล่อยว่างหรือถ้าเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลขสามารถใส่ 0 เป็นค่าเริ่มต้นได้

เมื่อเพิ่มข้อมูลสินค้าเสร็จแล้วให้กดปุ่มบันทึก หลังจากนั้นให้ท่านคลิ๊กที่ปุ่มสูตรผลิต-ส่วนผสม เพื่อเพิ่มส่วนประกอบ-วัตถุดิบในการผลิต ดังรูป 

ตัวอย่างการเพิ่มสินค้าสั่งผลิต

ให้ท่านกดปุ่มเพิ่มและเลือกสินค้าที่ปุ่ม … เพื่อเลือกสินค้าที่เป็นส่วนประกอบการผลิตสินค้าสั่งผลิตนั้นพร้อมระบุจำนวน (จำนวนนี้หมายถึงจำนวนที่ต้องใช้ผลิตต่อ 1 Lot) เสร็จแล้วให้กดปุ่มบันทึก ให้ท่านเพิ่มสินค้าที่เป็นส่วนประกอบทุกตัวจนครบ

ในตัวอย่าง การผลิตข้าวกล้องรวม 3 ชนิด 1 ถุง ประกอบด้วย

1.ข้าวกล้องชนิด A จำนวน 1 กิโลกรัม
2.ข้าวกล้องชนิด B จำนวน 1 กิโลกรัม
3.ข้าวกล้องชนิด C จำนวน 1 กิโลกรัม

จำนวนผลิตขั้นต่ำต่อ Lot คือ 10 ถุง จึงใช้จำนวนข้าวที่เป็นส่วนประกอบอย่างละ 10 กิโลกรัมต่อ Lot